สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการฟังบรรยายเรื่อง DRM (Digital Rights Management)

 

                                                                                                               ผู้บรรยาย: อ.บุญเลิศ อรุณพิบูลย์

                                                                                                               ผู้สรุป: ศกุนต์ ขันคำ 540132044

Digital Rights Management

ธนบัตรเป็นตัวอย่าง DRM แต่ไม่ 100%

– การจัดการสิทธิ์ดิจิทัล

– DRM

– เทคโนโลยีเพื่อควบคุมการเข้าถึงและการใช้งานข้อมูลดิจิทัล ที่ใช้โดยผู้สร้างสรรค์หรือเจ้าของสิทธิ์

                – Hardware

                – Software

ความเข้าใจผิด DRM คือกระบวนการป้องกันการคัดลอก

Information Rights Management (IRM)

คล้าย DRM หนีกันไม่ได้

เช็คทวีปผู้เปิดได้ เช่น ล็อคการเปิดไฟล์ ประเทศพัมนาแล้วและกำลังพัฒนา ฯลฯ

การรักษาสิทธิ์ (สร้างสิทธิ์ในการฟ้องร้องได้ตามกฎหมาย) เช่น เราเป็นเจ้าของรูป Photoshop

วันที่/เวลาดิจิทัล นับการซิงค์กับเวลามาตรฐาน

ตามกฎหมายต้องมี Time Server ด้วย (Web Server และ Mail Server)

เวลามาตรฐาน ใช้ Server: clock.nstda.or.th –> Update Now

นาฬิกาดิจิตอล ซิงค์กับเน็ตตามปกติ เข้าอะนาล็อก ซิงค์กับวิทยุ

– ดิจิทัล

                – ตั้ง Pc time กับ Time server แล้วนำเวลาที่ได้ไปใช้กับ digital camera, digital clock, digital devices

– Analog

                – ตั้งเวลากับประกาศกรมอุทกศาสตร์ กองทัพเรือ (ผ่านวิทยุ)

ค้นหาด้วย Google ด้วยคีย์เวิร์ด: เวลามาตรฐาน สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ (เวลาดิจิตอล)

ทำการสอบเทียบมาตรฐานทั้งหมดของประเทศไทย

เชื่อมตรงได้เลย ถ้าหน่วยงานเราไม่มี Time Server เอา URL มาใส่ได้เลย

ผิดกฎหมาย เพราะหน่วยงานต้องตั้งเอง ศูนย์ IT ผิด

time1.nimt.or.th หรือ 2 หรือ 3

กล้องรุ่นเบา ๆ จะซิงค์ไม่ได้ รุ่น high หน่อย พวก DSL นักข่าวใช้ จะตั้งเวลาผ่าน Server ได้ ซิงค์โลเกชันให้ได้อีกด้วย ว่าเราอยู่ส่วนไหนของโลก

DRM กรณี FlipAlbum (หา tab ชื่อ Security) e-book แบบ Static

1. ขอพาสเวิร์ด

2. ระบุวันหมดอายุ

3. ระบุจำนวนวันที่ให้เปิดดูได้

4. เข้ารหัส (Encrypt)

5. ใส่ลายน้ำ (Watermark)

6. อนุญาตให้ผู้ใช้พิมพ์และเซฟรูปได้

DRM กรณี DesktopAuthor (ฟอร์ม Book Properties) แก้ DRM ทำ dynamic e-book ได้ เป็น interactive e-book แก้หน้าหนังสือและรูปได้ อีบุคประเภทนี้ให้จ่ายตังค์ Online เข้าเว็บไซต์ DNL จะได้รหัสมาใส่ จะเป็น digital signature ที่ค่อนข้างจะสมบูรณ์

ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ Username + Password + ID + ไฟล์พิเศษ 1 ไฟล์ ที่เข้ารหัสเรียบร้อยแล้ว

Digital Signature

                – ID, User name, Password, Code (Regiter Code)

                – Encrypted file (หรือ Encrypted data)

                                – ลองเล่น http://www.adamek.biz/md5-generator.php (ตัว k หลัง adamek = Key หรือ กุญแจ)

หน่วยงานที่มีความมั่นคงทางอินเทอร์เน็ต นับ Username + Password อัตโนมัติ บางทีบังคับเปลี่ยน ไม่ทำตามเวลา จะปิด account ทันที และบังคับตั้งให้ยาก ๆ สลับอักษร ตัวเลข และอื่น ๆ พาสเวิร์ดห้ามรั่ว ไม่เช่นนั้นผู้ดูแลจะถูกไล่ออก ถ้าระบบไม่พร้อมอาจใส่ encrypted file มาด้วย

MD5 เป็นเทคโนโลยีการเข้ารหัสประเภทหนึ่ง หลักการง่าย ๆ คือ ไปเขียนโปรแกรมประเภทหนึ่งขึ้นมา เปลี่ยนค่าเป็นตัวอักษรตัวใหม่ด้วย algorithm การ shift หรือขยับถัดไป เช่น shift 3 ตัวอักษร (นับตัวแรกด้วย) password จะต้องเก็บแบบเข้ารหัส แล้วตอนถอดรหัสก็ทำเหมือนกัน โค้ดทุกโค้ดจะไม่มีทางซ้ำกัน โค้ดต้องเก็บให้ดี เวลาลงทะเบียนอะไรที่เป็นการทำธุรกรรม บางที่เว็บธนาคารทำงานกับหลาย ๆ รอบ และใช้ SMS ป้องกันการถูก hack

ดูใน Win SCP Login ต้องก็อปไฟล์ดิจิตอลทุกครั้ง ติดตัวตลอด เป็น private key ส่วน username, password นับเป็น public key

Adobe กับ Apple ทำ MD5 ชื่อดัง

IRM/DRM ของ MS Office & PDF เมนู Prepare ใน Office Button จะใช้ได้ก็ต่อเมื่อจ่ายเงินให้ Microsoft ก่อน ค่าการใช้งาน IRM คิดเป็น Corporate ไม่เป็นรายคน เจาะระดับ Content เลยเป็น IRM ของ MS ยอดมาก เช่น ต้องใช้คน 3 คน เพื่อเปิด แล้ว Copy/Paste ได้แค่คนเดียว ต้องมี Server เก็บทะเบียนผู้ใช้ทั้งองค์กร

โปรแกรม Acrobat ใช้ Preferences –> Security

ชั้นความลับของเอกสาร ไฟล์ PDF แก้ไขได้ ใส่ DRM เช่นใส่ password ของไฟล์

Permissions เป็น IRM อาจอนุญาตให้ซอฟท์แวร์ Text-to-speech มาอ่านออกเสียงด้วยได้ไหม

โปรแกรม TSR – Watermark Image

DRM – Watermark ของภาพ

ให้นึกถึงธนบัตร (แบบ transparence ก็มี)

โปรแกรมทำ watermark ชื่อ Picture Shark

http://www.picture-shark.com

ไทยลงทุนด้าน watermark ธนบัตรมาก

National Geographic ก็ลงทุนมาก จึงแจกภาพได้ ซอฟท์แวร์ที่ใช้แพงมาก

Picture Shark เป็นโปรแกรม encoding แต่ decoding ยังไม่ได้

เวอร์ชันเต็ม กระจายตำแหน่งโลโก้ watermark ได้ทั่ว

ต้อง merge รูป 2 รูป รวมกัน หลักการทำให้จางกลืนไปกับเนื้อรูปภาพ เห็นได้เฉพาะโปรแกรมพิเศษ

ของ National Geograpic ประกอบด้วย

– ไฟล์ภาพ

– watermark

– ฝังดิจิตอล ซิกเนเจอร์ ลงในเนื้อ

สแกนไฟล์ แล้วเอารูปเข้าเครื่องถอดรหัส ว่าก็อปปี้มาหรือไม่

National Palace Museum ของไต้หวัน สามารถตรวจเจอได้ แม้จะสแกนแล้วหลายครั้ง

สื่อดิจิทัล

– ระบบการจัดการสิทธิ์ของผู้ใช้

– ผู้ใช้สามารถทำอะไรกับข้อมูลดิจิทัลได้อย่างไรบ้าง

– ผู้ใช้สามารถใช้ข้อมูลดิจิทัลได้ที่ใด

– ผู้ใช้สามารถทำซ้ำ หรือทำสำเนาได้หรือไม่

MPEG ก้าวสำคัญของการละเมิดลิขสิทธิ์ (MP3)

DRM ในวงการธุรกิจ กระแส Blu-ray DRM คือฮาร์ดแวร์

ในวงการห้องสมุด DRM คือซอฟท์แวร์

ไมโครชิปในเครื่องเล่น DVD หรือ CD โซนเล่นไฟล์เป็น DRM ฮาร์ดแวร์ วงการ entertain อดีตมี 6 ปัจจุบันมี 3 เหลือ A, B, C

Jailbreak (Apple), Root (Android), JAR (Blu-ray) (คือการ hack แต่เป็นฮาร์ดแวร์หรือแฮ็คระบบ)

การทำกับเครื่อง Printer ไม่นับเป็น DRM ต้องเจาะคอนเทนท์

ตัวอย่าง Digital Machine (Espresso Copy Machine) เครื่องปรินท์หนังสือให้แบบ DRM ต้องเป็นหนังสือจากค่าย Amazon เท่านั้น เป็นต้น

ประเด็นชวนคิด

Image

Apple กับ Amazon พบว่า ถ้าอยากขายได้เยอะ ๆ ไม่ควรตั้งเงื่อนไขให้ผู้ใช้ ใช้วิธีขายแข่งของละเมิดไปเลย Sony, Warner Bros ไม่แบ่งโซนแล้ว Kindle ไม่มี กลุ่ม Business ตัว DRM เริ่มแผ่วมาก เทียบกับ Library

ของ สวทช. แยกเป็น 2 กลุ่ม

– Service ทั้งหมด ใช้ดิจิตอล ซิกเนเจอร์ ใช้ username, password

– ถ้าเป็นเกี่ยวกับ Server จะเพิ่ม encrypted file (เหมือนธนาคารแห่งประเทศไทย กระทรวงการคลัง)

หลักการของ Digital Signature จะทะลุทลวงยาว ไม่ต้อง login ซ้ำ สามารถข้าม Server ได้ ฝ่าย Admin ต้องดูแลแข็งมาก User ไม่ต้องอะไรมาก

ดู URL จะเป็น https:// (มีตัว s)

ดู File Info ของ Adobe Photoshop ต้อง Set DRM หรือ Metadata ตามเวลาเครื่อง (ดูข้างล่างสุด ข้อมูลชุด Created, Modified, Application, Format)

Enterprise Management ทำงาน Digital จะต้องระวังเรื่องเวลา

ส่วนต่อมา ดู Copyright Status เลือกการเผยแพร่ และอื่น ๆ (ถือเป็นอีกส่วนของ DRM) ใส่ URL ใส่สำหรับบ่งชี้เว็บว่า เราเผยแพร่ในเว็บไหน

โพสท์ใน Uncategorized | ติดป้ายกำกับ , , , , , | ใส่ความเห็น

สรุปสิ่งที่ได้จากการเรียนวิชา 023707 บริการสารสนเทศ ในวันที่ 28 สิงหาคม 2554

บริการแนะนำ Guidance Services
คล้ายบริการสอนการใช้แต่แตกต่าง (ส่วนใหญ่มีในห้องสมุดประชาชน)
– เน้นให้ความช่วยเหลือในขณะสืบค้น

ประเภทการบริการแนะนำ
1. บริการแนะนำการอ่าน (Readers’ Advisory Services)
บริการช่วยเลือกสารสนเทศที่เหมาะกับผู้ใช้ หรือแนะนำการเลือกสารสนเทศ

การอ่านเป็นการพัฒนาตนเอง และพัฒนาคุณภาพชีวิต

บริการแนะนำการอ่าน
อ่านเป็น
– เข้าใจเรื่องที่อ่าน
– มีวิจารณญาณในการอ่าน
– เกิดความคิดสร้างสรรค์
– อธิบายสิ่งที่อ่านได้
– สรุปสิ่งที่อ่านได้

2. Bibliotherapy มีหลายชื่อ
ช่วยเด็กที่มีปัญหาในการอ่านยาก หรือปัญหาอื่น ๆ เช่น พ่อแม่หย่าร้าง ก้าวร้าว
นิยายมีประโยชน์ในการเข้าสังคม

3. บริการปรึกษาแนะนำทำรายงาน (Term-Paper Counseling) ระดับห้องสมุดโรงเรียน
4. บริการแนะนำและช่วยการวิจัย (Research Assistance and Consulting)
expert room ห้องรวมคนที่เก่งไว้ให้ปรึกษา

1. Ready Reference
2. Topics/Subjects
3. Course Guide
ทั้ง 3 อย่าง คือ Subject Guide

กิจกรรมส่งเสริมการใช้ห้องสมุด
– กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน

ผู้ใช้ห้องสมุดปัจจุบัน
อิฐและปูนเพิ่มจำนวนน้อย –> (พาวเวอร์ยูสเซอร์) <– ดิจิทัลเพิ่มมาก

กฎของพาเรโต (Pareto Principle) “80/20 rule”
เศรษฐศาสตร์หางยาว (The Long Tail) กลับกัน
หนังสือชั้นดี 20%

กฎ 3 ประการของทฤษฎี Long Tail
กฎข้อที่ 1: Make everything available.
กฎข้อที่ 2: Cut the price in half. Now lower it.
กฎข้อที่ 3: Help me find it.

ประโยชน์ของการค้าแบบ Long tail
Company View
– ลดต้นทุนในการเข้าถึงลูกค้า
– ช่วยบริหารสินค้าคงคลัง
– ช่วยทำให้สินค้าตอบสนองลูกค้าเฉพาะกลุ่ม (Niches)
– เพิ่มยอดขายและกำไร

Customer View

– ลูกค้าหาสินค้าที่ต้องการได้ง่ายขึ้น
– ลูกค้าหาสินค้าเหมาะกับความต้องการของตนเอง (Customize)

ห้องสมุดมีลักษณะเป็น Long Tail ตั้งแต่แรกแล้ว หนังสือชั้นดี 20%
Long Tail Classification หนังสือคล้ายกันมาไว้ด้วยกัน
การทำความร่วมมือระหว่างห้องสมุดถือเป็น Long Tail

Perception of Library
– Libraries are inefficient
– Libraries are limited
– Libraries are obsolete

Change
Our Collections
Our Libraries
Our Profession
Ourselves

คุณสมบัติบรรณารักษ์รุ่นใหม่ต้องคุยกับนักคอมพิวเตอร์รู้เรื่อง

Lib 2.0 กับ Web 2.0 ใช้คุณลักษณะอย่างเดียวกัน

โพสท์ใน 023707 | ติดป้ายกำกับ , | ใส่ความเห็น

สรุปสิ่งที่ได้จากการเรียนวิชา 023707 บริการสารสนเทศ ในวันที่ 21 สิงหาคม 2554

บริการยืมระหว่างห้องสมุด/สถาบัน

(Inter Library Loan – ILL)

ปัจจุบันก็เป็นอีกหนึ่งบริการหลัก

คิดถึงห้องสมุด –> ข้อมูลและหนังสือ

ความคาดหวังของผู้ใช้ (User Expectations)

–         ห้องสมุดให้บริการสารสนเทศแก่ผู้ใช้

–         มีความสะดวกในการเข้าถึง

–         ได้มาซึ่งสารสนเทศที่ต้องการ เหมาะสม

–         มีความน่าเชื่อถือ ปัจจุบันเท่า ๆ กันระหว่างห้องสมุดและอินเทอร์เน็ต

–         ไม่มีค่าใช้จ่ายในการเข้าใช้ ถ้ามีก็น้อยที่สุด

–         สามารถสนองความต้องการของผู้ใช้

ความหมาย – บริการยืมระหว่างห้องสมุด/สถาบัน

บริการที่สถาบันหรือสถาบันบริการสารสนเทศร่วมมือกันในการให้บริการ ขอใช้วัสดุห้องสมุดภายในสถาบันหรือสถาบันบริการสารสนเทศแห่งอื่น ๆ โดยมีข้อตกลงร่วมกัน

Extension Services ไม่ใช่ ILL

ปรัชญาของบริการ ILL

–         ไม่มีห้องสมุดใดที่สามารถจัดหาทรัพยากร ที่สามารถสนองตอบความต้องการสารสนเทศผู้ใช้ได้ดีสุด

–         ความร่วมมือเป็นพื้นฐานของการจัดบริการ ILL

–         ความต้องการของผู้ใช้เป็นสิ่งที่ต้องสามารถจัดการให้สามารถสนองตอบได้ให้ดีที่สุด

 

ความเด่นของแต่ละห้องสมุดไม่เหมือนกัน

ผู้จัดพิมพ์ต้องส่งมอบสิ่งพิมพ์ให้หอสมุดแห่งชาติ (พรบ.)

 

OCLC ปัจจุบันมีเครือข่าย 2 หมื่นกว่าแห่งทั่วโลก (ฐานข้อมูลที่ใช้ร่วมกัน)

 

วัตถุประสงค์

–         ส่งเสริมให้วิจัยและศึกษาในเชิงลึก โดยยึดถือหลักการให้ยืม สำหรับสิทธิขั้นพื้นฐานของผู้ใช้ห้องสมุด

–         ให้ผู้บริการแก่ผู้ใช้มากขึ้นในการลงทุนคงที่เดิม

–         ให้บริการคงเดิมในราคาที่ถูกกว่าเดิมหรือลงทุนน้อยลง

ความสำคัญของบริการ ILL

  1. ขยายความสามารถในการเข้าถึง

1)            ลดปัญหาการมีวัสดุห้องสมุดไม่เพียงพอ

2)            ลดช่องว่างระหว่างสถาบัน ความเท่าเทียมกันในการเข้าถึงสารสนเทศ

  1. ช่วยลดข้อจำกัดด้านระยะทาง
  2. มีการใช้ทรัพยากรสารสนเทศที่คุ้มค่า คุ้มทุน
  3. ช่วยประหยัดงบประมาณ หลีกเลี่ยงการซื้อซ้ำซ้อน โดยกลายเป็นการยืมแทนการซื้อ
  4. ช่วยให้สามารถเข้าถึงทรัพยากรที่หายาก ที่มีเฉพาะบางห้องสมุดเท่านั้น
  5. เพิ่มความก้าวหน้า สร้างความเข้มแข็ง การจัดการ การบริการในกลุ่มห้องสมุด
  6. สร้างภาพลักษณ์ที่ดีในการให้บริการ

ILL บริการคล้ายร้านจีฉ่อย

งาน ILL ประกอบด้วย

  1. ขอยืม (Borrowing)
  2. ให้ยืม (Lending)

–         Primary (intra-library) loans

–         Secondary (inter-library) loans

Document Delivery Services

บริการนำส่งเอกสาร

–         จัดหาเอกสารให้ผู้ใช้ทุกรูปแบบ ด้วยวิธีการส่งที่มีประสิทธิภาพ

–         มีการคิดค่าบริการสำหรับผู้ใช้

–         ดูเรื่องลิขสิทธิ์ให้ถูกต้อง

บริการเสริม ILL แต่จะทำน้อยมาก เพราะปัจจุบันเป็น e

ปรัชญาเหมือน ILL แตกต่างจาก ILL คือ เตรียม จัดหา ผลิต สำหรับผู้ใช้

ผู้ให้บริการ

–         สถาบันบริการสารสนเทศ

–         การจัดส่งในสถาบัน

–         การจัดส่งระหว่างสถาบัน ข้อตกลงร่วมกัน

–         ตัวแทนจัดหาและจัดส่งเอกสาร

บริการข่าวสารทันสมัย CAS (Current Awareness Service)

หน้าที่ของห้องสมุด ต้องให้ผู้ใช้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น

–         มีอะไรบ้าง

–         อยู่ที่ไหน

–         จะได้มาอย่างไร

รูปแบบบริการ CAS

–         การเวียนเอกสาร หรือจัดส่งโดยตรง

–         การจัดแสดงทรัพยากรสารสนเทศใหม่ หนังสือ วารสาร

บริการรูปแบบอื่น ๆ

–         ผ่าน Webpages with news worthy content. ข่าวบนเว็บเพจ

–         Weblogs (blog)

–         RSS & newsfeed

โพสท์ใน 023707 | ใส่ความเห็น

สรุปสิ่งที่ได้จากการเรียนวิชา 023707 บริการสารสนเทศ ในวันที่ 17 กรกฎาคม 2554

งานบริการอ้างอิงและสารสนเทศ
2. บริการสอนการใช้ (Instructional Service)

 สอนผู้ใช้ในการค้นคว้า และการใช้เครื่องมือค้นได้อย่างถูกต้อง ไม่ว่าจะเป็นบัตรรายการ หนังสืออ้างอิง การสืบค้นออนไลน์ การบริการสอนการใช้ จะมีวัตถุประสงค์ให้ผู้ใช้มีการรู้สารสนเทศ (information literacy skills)

 สมาคมห้องสมุดอเมริกันได้กำหนดไว้ คือ
 “หน้าที่ของห้องสมุดทุกประเภท คือ ต้องจัดการให้ผู้ใช้มีโอกาสเข้าใจในระบบการจัดการสารสนเทศ… การแนะนำการใช้ห้องสมุดถือเป็นหลักการแรกในการให้บริการ”

ปรัชญาการบริการ

 ช่วยให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงสารสนเทศได้ด้วยตนเอง เป็นการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Lifelong Learning)
 Library Literacy
 Information Literacy

 Bibliographic Instruction (BI): Instructional program designed teach library users
 Synonymous with
 – library instruction
 – library orientation
 User Instruction
 – Informal
 – Formal

พัฒนาทางเทคโนโลยีสารสนเทศ

– การเพิ่มขึ้นของสารสนเทศเป็นพลังขับเคลื่อนสำคัญ ที่เป็นปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดการปรับเปลี่ยนในสังคมอย่างกว้างขวาง
  – รวมถึงการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการใช้สารสนเทศ การแสวงหาสารสนเทศ
  – ทำให้บุคคลต้องเผชิญกับทางเลือกสารสนเทศที่หลากหลายและมากมาย
– จึงมีความจำเป็นที่ต้องรู้เกี่ยวกับ ประเมิน เลือก และสังเคราะห์ข้อมูลข่าวสาร รวมถึงการเปลี่ยนแปลงและเพิ่มทักษะใหม่ เช่น
  – ทักษะในการแสวงหา
  – การเข้าถึงสารสนเทศ

ความสำคัญของ IL

– สารสนเทศที่มีในปัจจุบัน 295 Exabyte (พันล้านกิกะไบท์)
– มีจำนวนที่มากกว่า 315 เท่า ของจำนวนทรายที่มีในโลก
– ในปี 2007 จำนวนร้อยละ 94 สารสนเทศบันทึกอยู่ในรูปแบบดิจิทัล

การปฏิรูปการศึกษา

– สังคมที่พึงปรารถนาก็ไม่ใช่เป็นเพียงสังคมข่าวสาร แต่ต้องเป็น “สังคมแห่งการเรียนรู้” การพัฒนา “คน” ให้ได้รับการศึกษาสูงขึ้น
– ฯลฯ

ลักษณะการจัดบริการ

จัดบริการ 2 ลักษณะ คือ
1. บริการเฉพาะบุคคล (One-to-one Instruction) Informal/Point of use Instruction
2. บริการเป็นกลุ่ม (Group Instruction) Formal Instruction
Orientation Day ต่างประเทศ 1 วัน ห้องสมุดจัด

การสอนการรู้สารสนเทศในสถาบันการศึกษา

1. การสอนเป็นรายวิชาอิสระ
2. การสอนเป็นส่วนหนึ่งของรายวิชา
3. การสอนแบบบูรณาการกับรายวิชาอื่นในหลักสูตร (Course-integrated Instruction)
4. โปรแกรมสอนห้องสมุด One-short Instruction

โพสท์ใน 023707 | ติดป้ายกำกับ , | ใส่ความเห็น

สรุปสิ่งที่ได้จากการเรียนวิชา 023707 บริการสารสนเทศ ในวันที่ 10 กรกฎาคม 2554

บัตรสมาชิก

1. บัตรพลาสติก (มักใช้ในห้องสมุดประชาชนและเด็ก)
2. บัตรติดแถบแม่เหล็ก (magnetic stripe)
    2.1 บัตรที่ไม่เกี่ยวกับการเงิน (Non Financial Related Card) เป็นบัตรที่มีการใช้อย่างกว้างขวาง
    2.2 บัตรที่เกี่ยวกับการเงิน (Financial Related Card) การใช้งานจะประกอบด้วยระบบการป้องกันระดับสูง มีการเข้ารหัส
3. บัตรติดรหัสแถบ (bar code) magnetic stripe bar code มีการลบแถบแม่เหล็ก แถบแม่เหล็กใช้ในการเข้า บาร์โค้ดใช้ในการยืม
4. บัตรอัจฉริยะ (บัตรติดชิพ, smart card)
    4.1 บัตรทำงานแบบสัมผัส (Contact Card) EDC
    4.2 บัตรทำงานแบบไม่สัมผัส (Contactless Card) Antenna
    4.3 บัตรทำงานแบบผสม (Dual Interface Card)

บริการตอบคำถาม Inquiry Service

ใต้ร่มบริการสารสนเทศ บางห้องสมุดถือเป็นบริการแนะนำ ถ้าจำเป็นต้องมีก็เป็นบริการพื้นฐาน บริการช่วยให้ผู้ใช้ได้ข้อมูล และสารสนเทศเฉพาะตามต้องการ โดยมีบรรณารักษ์อ้างอิง บริการที่โต๊ะบริการตอบคำถาม

ปรัชญาการบริการ

– ผู้ใช้สามารถเข้าถึงสารสนเทศที่ต้องการ
– ความต้องการสารสนเทศเฉพาะบุคคล
– ผู้ใช้ได้มาซึ่งสารสนเทศอย่างรวดเร็ว
มีความรวดเร็ว เพราะบางคนรู้แล้วแต่ไม่มีเวลา บางคนก็ไม่รู้จะค้นยังไง

ความสำคัญของการบริการอ้างอิงและสารสนเทศ

1. ช่วยให้บริการตรงกับความต้องการของผู้ใช้
2. สนับสนุนการใช้ห้องสมุด
3. ประหยัดเวลาในการค้นคว้าหาข้อเท็จจริง
4. ส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างห้องสมุดและผู้ใช้

หน้าที่

1. แสวงหาสารสนเทศสำหรับคำถามที่มีความต้องการเฉพาะทาง
2. ช่วยเหลือให้ผู้ใช้สามารถค้นหาสารสนเทศได้ด้วยตนเอง (ทักษะการรู้สารสนเทศ)
3. สอนผู้ใช้ให้สามารถใช้ทรัพยากรสารสนเทศในห้องสมุด และการทำการค้นคว้า (ทักษะในการค้น เลือกแหล่งในการค้นคู่มือสารสนเทศได้)

วิธี (ระดับ) การบริการ

– ห้องสมุดเฉพาะ ตอบคำถามอย่างรวดเร็ว (ได้สารสนเทศที่ต้องการ)
– ห้องสมุดโรงเรียน สอนการใช้
– ห้องสมุดประชาชน ช่วยหาสารสนเทศที่ต้องการ พัฒนาทักษะการสืบค้น
– ห้องสมุดมหาวิทยาลัย ตอบคำถามอย่างรวดเร็ว ช่วยค้นสารสนเทศที่ต้องการ สอนการใช้ห้องสมุด (ทักษะการสืบค้น)

ประเภทคำถามอ้างอิง

1. คำถามโดยตรงหรือข้อแนะนำ (Directional Question)
2. คำถามที่ต้องการข้อเท็จจริง (Ready Reference Question)
3. คำถามที่ต้องการค้นคว้าข้อเท็จจริง (Specific Search Question) ยังครอบคลุมอยู่ในห้องสมุดดูแล
4. คำถามที่ต้องอาศัยการค้นคว้าวิจัย (Research Question) ต้องใช้เวลาและเกินห้องสมุด ต้องอาศัยความร่วมมือ
บรรณารักษ์ต้องรีบตอบคำถาม เกิน 5 นาที มีแนวโน้มผู้ใช้จะปิดการติดต่อ

ประเภทการบริการ

1. บริการโดยตรง (Direct reference services)
2. บริการทางอ้อม (Indirect reference services)
    2.1 บริการที่บรรณารักษ์ออกไปบริการตอบคำถามแก่ผู้ใช้โดยตรง รวมถึงการให้บริการสอนการใช้ในห้องสมุด
    2.2
        1) การเลือกและการจัดหา (Selection & Acquisition)
        2) การบริหารและการจัดดำเนินการ (Organization & Administration)
        3) จัดหาวิถีทาง (Access)  FAQ การจัดเตรียมหนังสือ เอกสารสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ ทั้งสิ่งพิมพ์และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ฐานข้อมูล พัฒนาทรัพยากรอ้างอิง จัดทำเครื่องมือ คู่มือ อำนวยการให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงสารสนเทศ รวมทั้งแสวงหาความร่วมมือในการให้บริการ ติดต่อประสานงานระหว่างสถาบัน องค์กร
        4) การประชาสัมพันธ์ (Public Relation) ไม่ควรอยู่มุมมืด ควรให้ผู้ใช้ได้รู้และใช้บริการ
        5) การประเมินผล (Evaluation) ประเมินการดำเนินงาน การปฏิบัติงาน
        6) หน้าที่อื่น ๆ (Miscellaneous Tasks) งานประจำเพื่อช่วยการทำงานและงานดูแลรักษา เช่น บันทึกคำถาม

โพสท์ใน 023707 | ติดป้ายกำกับ , , | ใส่ความเห็น

สรุปสิ่งที่ได้จากการเรียนวิชา 023707 บริการสารสนเทศ ในวันที่ 26 มิถุนายน 2554

 

2.       บริการยืม – คืน / จ่าย – รับ

(Circulation Service)

เป้าหมายหลัก คือ

–          การเปิดโอกาสให้ผู้ใช้เข้าถึงทรัพยากรสารสนเทศ

–          นำไปศึกษาค้นคว้านอกสถาบันได้

ปรัชญาการบริการยืม – คืน

–          ให้ความเท่าเทียมและเป็นธรรมในการเข้าถึงทรัพยากรสารสนเทศห้องสมุด (fair access)

–          กำหนดนโยบายและระเบียบ โดยมีวัตถุประสงค์ให้มีการเข้าถึงทรัพยากรสารสนเทศให้มากที่สุด

fair use = สิทธิการนำไปใช้โดยธรรม

                fast track = ทำรายการอย่างเร็ว (มี Service Mind หรือจิตบริการสูงมาก)

                หนังสือทุกเล่มต้องขึ้นชั้นให้เร็วที่สุด แล้วแต่นโยบายของบรรณารักษ์ (บางทีรักษาความปลอดภัยหนังสือด้วย) บางทีต้องกระตุ้น การจัดซื้อ การ catalog (คนหาหนังสือไม่เจอก็ไปจิ้ม)  บางทีต้องเอาขึ้นชั้นให้ได้ก่อน ใส่หมวดก่อน เพื่อให้ยืม

บทบาทหน้าที่ของบริการยืม – คืน (Check-in and Check-out)

1)       การควบคุมงานบริการยืม – คืน เป็นบริการพื้นฐานที่ต้องมี (ห้องสมุดสมัยใหม่) สืบเนื่องจากภารกิจห้องสมุด รวมทั้งเป้าหมายขององค์กร เป็นงาน front ที่บรรณารักษ์ต้องทำได้

2)       ประชาสัมพันธ์ห้องสมุด เป็นจุดบริการแรกที่ผู้ใช้จะมองเห็นและเข้ามาติดต่อมากในงานห้องสมุด อาจเป็นสิ่งตัดสินคุณภาพการบริการของห้องสมุด

ห้องสมุดที่มีการยืม – คืน ด้วยตนเอง (self check out/in) มีโต๊ะประชาสัมพันธ์ (มีปฏิสัมพันธ์ และอาจมี 1-2 คน)

ห้องสมุด มช. เป็นห้องสมุดขนาดกลาง หนังสือมีแค่ประมาณ 3 แสนเล่ม

การประชาสัมพันธ์

–          จุดที่มีการบริการทั้งหมด ถือว่าเป็นการสร้างความสัมพันธ์กับผู้รับบริการ

–          ผู้ใช้คาดหวัง เจ้าหน้าที่ห้องสมุด ทราบทุก ๆ เรื่อง

สาเหตุที่ผู้ใช้ไม่พอใจ

–          ไม่สามารถหาสิ่งที่ต้องการได้

–          ไม่ได้รับการแจ้งเตือนกำหนดการส่ง หรือแจ้งเตือนการส่งช้า

–          ระยะเวลาในการยืมสั้น

–          จำกัดครั้งการยืมต่อ

–          ค่าปรับ

–          เสียงรบกวน (กลิ่น ฯลฯ)

–          ไม่พอใจบริการที่ได้รับจากบรรณารักษ์

–          ร้อนหรือเย็นเกินไป

–          เครื่องสำเนาเอกสาร คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ต่าง ๆ ไม่ทำงาน

การจัดการ

  1. ห้องสมุดขนาดเล็ก บรรณารักษ์ทำหน้าที่ดูแลงานเจ้าหน้าที่ กำหนดนโยบาย ขั้นตอนการดำเนินงาน กฎระเบียบ และแนะนำดูแลการทำงานเจ้าหน้าที่
  2. ห้องสมุดขนาดใหญ่ มีหัวหน้าแผนก (หัวหน้างาน department head) ดูแลบรรณารักษ์ โดยบรรณารักษ์ดูแลงานด้านการจัดการ
  3. ห้องสมุดขนาดใหญ่มาก จะมีหัวหน้างาน (circulation chief)

ความรู้และทักษะที่ต้องการ

–          มีใจรักในงานบริการ มีความอดทนสูง

–          มีความรู้เกี่ยวกับทรัพยากรที่มีไว้บริการ

–          มีทักษะการใช้คอมพิวเตอร์ ฐานข้อมูล OPAC

–          มีไหวพริบในการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า

–          มีมนุษยสัมพันธ์ดี

บรรณารักษ์และเจ้าหน้าที่ควรเก่งภาษาอังกฤษ ฐานข้อมูลเป็นภาษาอังกฤษทั้งนั้นเลย และ 70% ของหนังสือเป็นภาษาอังกฤษ ความรู้พัฒนาได้ ควรอบรม

การจัดการบุคลากรในการบริการ

–          It is important to have an experienced staff member on duty

–          Full-time staff usually work one night a week and weekends

–          There are busy periods and slow periods

การยืมและการคืน (Check-in และ Check-out)

  1. บริการยืม – คืน ทรัพยากรห้องสมุดประเภทต่าง ๆ
  2. กำหนดระยะเวลาในการยืม – คืน ทรัพยากรสารสนเทศ ตามนโยบายสถาบันโดยทั่วไป
  3. บริการรับจองสิ่งพิมพ์ที่มีผู้ยืมออก ให้บริการต่ออายุการยืมอัตโนมัติ
  4. บริการหนังสือสำรอง
  5. บริการตรวจสอบหนังสือ เมื่อผู้ใช้หาตัวเล่มจากชั้นไม่พบ
  6. ปรับสิ่งพิมพ์เกินกำหนดส่ง/เสียหาย กำหนดอัตราการปรับและออกใบเสร็จรับเงิน
  7. บริการตอบคำถามชี้แนะสารนิเทศแก่ผู้ใช้ภายในห้องสมุด และผู้ติดต่อสอบถามทางโทรศัพท์
  8. บริการยืมระหว่างห้องสมุด (ภายใน) การจัดส่งเอกสาร
  9. บริการล็อคเกอร์รับฝากสิ่งของ

กฎระเบียบในการปฏิบัติงาน

                แต่ละห้องสมุดไม่เหมือนกัน กฎข้อแรกคือต้องประชาสัมพันธ์กฎระเบียบ ควรเตือนกลุ่มเสี่ยงก่อนส่งหนังสือ การแก้ไขมาตรฐานการทำงาน คือ ประเมิน ๆ และประเมิน

ค่าปรับ

                ต้องชี้แจงให้ผู้ใช้ทราบถึงสิ่งที่ควรเข้าใจ

–          เพื่อกระจายการเข้าถึงให้ผู้อื่น

–          การมีความรับผิดชอบ เป็นหน้าที่ของมหาวิทยาลัย ประชาชนในประเทศ

–          มีวัตถุประสงค์เพื่อกระตุ้นให้มีการส่งคืนตามเวลาที่กำหนด

การกำหนดค่าปรับ

–          การกำหนดจำนวนแตกต่างกัน

–          ค่าปรับสำหรับการยืมระยะสั้นจะสูงกว่ากำหนดยืมระยะยาว (ใช้ตัวค่าปรับคุมความสำคัญของหนังสือ)

–          ค่าปรับทรัพยากรสารสนเทศแต่ละประเภทจะมีความแตกต่างกัน

–          ควรส่งเอกสารแจ้งเตือนวันส่ง

การจัดการปัญหาในการปรับ

–          มีการยกเว้น (Amnesty Programs)

–          มีการผ่อนผัน (Grace period)

–          หาไม่มีการส่งคืน และไม่จ่ายค่าปรับ สิทธิการใช้ห้องสมุดถูกระงับ เช่น การยกเลิกความเป็นสมาชิก หรืองดเว้นการให้บริการยืม

–          ในบางห้องสมุดอาจมีการใช้บริการติดตามจากบริษัทที่มีบริการติดตาม (น้อยมาก)

–          ห้องสมุดมหาวิทยาลัย จะทำเรื่องขอระงับการออก transcripts หรือระงับการอนุมัติสำเร็จการศึกษา

–          หลังจาก grace period ควรกำหนดค่าปรับเป็นจำนวนที่กำหนด โดยไม่นับตามจำนวนค่าปรับจริง

–          การกำหนด Grace period ให้สอดคล้องกับระยะเวลาการยืม

–          หากมีหนี้สิ้นที่ยังไม่ได้ชำระเกินจำนวนเงินที่กำหนดโดยห้องสมุด เช่น 300 บาท จะไม่อนุญาตให้ยืมทรัพยากรอื่น ๆ ได้

–          แจ้งเตือนเป็นระยะ ๆ

การจ่ายค่าปรับ

–          จ่ายที่บริการยืม – คืน

–          จ่ายผ่านระบบอัตโนมัติ

–          เปิดให้มีการผ่อนผันต่อรอง

การจัดเก็บทะเบียนผู้ใช้

  1. เพื่อจำแนกว่าใครบ้างมีสิทธิ์ยืมทรัพยากร หรือมีสิทธิ์ใช้บริการ
  2. ข้อมูลส่วนบุคคล เพื่อสะดวกในการติดต่อกับผู้ใช้
  3. จำเป็นต้องทราบกลุ่มเป้าหมายและลักษณะกลุ่มเป้าหมายที่จะให้บริการ
โพสท์ใน 023707 | ติดป้ายกำกับ , , , | ใส่ความเห็น

สรุปสิ่งที่ได้จากการเรียนวิชา 023707 บริการสารสนเทศ ในวันที่ 19 มิถุนายน 2554

บริการห้องสมุด
งานห้องสมุด
1. งานบริหาร (Administration function)
2. งานเทคนิค (Technical function)
3. งานบริการ (Service function)
งานบริการ คือ หัวใจของสถาบันบริการสารนิเทศ (ภาวิณี  แสนชนม์, ม.ป.ป.)
ห้องสมุดมุ่งสร้างประโยชน์กับผู้ใช้สูงสุด สร้างให้คนเกิดทักษะการใช้ เรียนรู้ด้วยตนเอง เรียนรู้ตลอดชีวิต “พัฒนาศักยภาพของมนุษย์”
บรรณารักษ์ต้องมีความยืดหยุ่น
ประเภทงานบริการห้องสมุด
1. บริการพื้นฐาน
1.1 บริการผู้อ่าน (Reader Services)
1.2 บริการยืม-คืน (Circulation Services)
1.3 บริการตอบคำถาม
2. บริการอ้างอิงและสารสนเทศ (Reference and Information Services) เป็นบริการที่เอื้ออำนวยความสะดวกให้ผู้ใช้
2.1 บริการช่วยการค้นคว้าวิจัย
2.2 แนะนำการสืบค้นข้อมูล
3. บริการเฉพาะกลุ่ม
แก่ผู้ด้อยโอกาส เช่น เด็ก คนชรา
ความสำคัญของงานบริการห้องสมุด
1. เป็นองค์ประกอบที่เกื้อหนุนการพัฒนาห้องสมุด
2. ส่งเสริมสนับสนุนในด้านการศึกษา
3. ในด้านเศรษฐกิจ
4. ในทางวัฒนธรรม
5. การเมืองการปกครอง
วัตถุประสงค์บริการห้องสมุด
1. ให้ผู้ใช้ได้สารสนเทศถูกต้อง สมบูรณ์ ตรงความต้องการ
2. เชื่อมโยงผู้ผลิตและแหล่งทรัพยากรสารสนเทศ กับผู้ต้องการใช้สารสนเทศ
3. ส่งเสริมถ่ายทอดสารสนเทศให้เป็นประสิทธิภาพ ระหว่างผู้ใช้กับแหล่งทรัพยากรสารสนเทศ
4. กลั่นกรองสารสนเทศ ได้สารสนเทศที่มีคุณภาพ
ฯลฯ
Ranganathan 5 Laws
1. หนังสือมีไว้ให้ใช้
2. ผู้อ่านแต่ละคนได้หนังสือที่ตนจะอ่าน
3. หนังสือทุกเล่มมีผู้อ่าน
4. ประหยัดเวลาของผู้อ่าน
5. ห้องสมุดเป็นสถาบันที่มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
Gorman Librarianship
1. ห้องสมุดมีไว้เพื่อให้บริการมนุษยชาติ
2. ยอมรับการสื่อสารความรู้ในทุกรูปแบบ
3. ใช้เทคโนโลยีอย่างชาญฉลาดเพื่อเสริมสร้างบริการ
4. เปิดเสรีในการเข้าถึงความรู้
5. เคารพรับสิ่งที่ผ่านมาและสร้างอนาคต

 

โพสท์ใน 023707 | ติดป้ายกำกับ , , | ใส่ความเห็น

สรุปสิ่งที่ได้จากการเรียนวิชา 023707 บริการสารสนเทศ ในวันที่ 12 มิถุนายน 2554

ความหมายโดยรวมของคำว่า บริการ

หมายถึง การให้ความช่วยเหลือหรือการดำเนินการเพื่อประโยชน์สุขของผู้อื่น เป็นการทำงานเพื่อคนอื่น ถ้าบริการดี มีความเท่าเทียมกัน ผู้รับบริการเกิดความประทับใจ ส่งผลดีต่อภาพลักษณ์องค์กร ผู้ใช้หรือลูกค้ายอมรับและเชื่อมั่น

ประเภทธุรกิจการบริการ

  1. การบริการเชิงธุรกิจ (Business Service) มุ่งแสวงหากำไร มักอยู่ในภาคเอกชน
  2. การบริการสาธารณะ (Public Service) มุ่งรักษาผลประโยชน์ สวัสดิภาพของประชาชน ขาดทุนก็ยอม

งานบริการ

ไม่อาจกำหนดความต้องการได้ ไม่มีสูตรสำเร็จ ขึ้นกับแต่ละคน แต่ละครั้ง การบริการในสิ่งที่ไม่สามารถคาดคะเนได้ การบริการต้องสอดคล้องกับพฤติกรรมของผู้ใช้

คนเป็นตัวแปรสำคัญในการสร้างและทำลายงานบริการ ผู้ให้บริการไม่สามารถพูดในเชิงลบกับใครได้ และอย่าหลงระเริง เวลาบริการต้องมองไปข้างหน้า มีวิสัยทัศน์ มองดูคนหลาย ๆ generation

มีการเก็บสถิติ อย่างเช่น Seven-eleven ดูว่าสินค้าไหน ยี่ห้อไหนขายดี

ห้องสมุดกับการบริการสารสนเทศ

ถ้าเป็นบริษัทรถยนต์ ก็จะนึกถึงบริการหลังการขาย การประกัน คาร์แคร์ งานเลี้ยงขอบคุณลูกค้า เป็นต้น แต่ถ้าเป็นห้องสมุดก็จะนึกถึงหนังสือเป็นหลัก ห้องสมุดขายข้อมูลหรือสารสนเทศ สารสนเทศต้องมีคุณภาพ ได้สารสนเทศที่ดี

ในยุคปัจจุบัน ผู้คนให้การยอมรับใน Google ว่าเป็นแหล่งสารสนเทศที่มีคุณภาพมากกว่าห้องสมุด แม้จะมีขยะอยู่เยอะมากตามไปด้วยก็ตาม ห้องสมุดต้องสร้างบริการเชิงรุก

เดิมผู้ใช้รู้อยู่แล้วว่ามีบริการสารสนเทศ แต่เพิ่มความประทับใจและความไม่ประทับใจ เป็นธรรมชาติของมนุษย์ที่ความไม่ประทับใจจะรุนแรงกว่า ภาพลักษณ์จะเปลี่ยนแปลงได้ยากถ้าฝังใจ เปลี่ยนทัศนคติได้ยาก

มีกลุ่มที่สร้างภาพลักษณ์ เป็น front บรรณารักษ์ หรืออยู่เบื้องหลัง

รองผู้อำนวยการห้องสมุด มักจะเป็น system librarian เป็นคนที่จบคอมพิวเตอร์มา รู้จัก IT

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ตอนนี้เป็นองค์กรในกำกับของรัฐ คาดหวังกำไร อาจารย์จะเน้นความเป็นสาธารณะ ผู้บริหารจะแสวงหากำไร เช่น วิศวะรับตรวจสอบดิน คำนวณเสาเข็ม ห้องสมุดถือเป็นบริการเสริมของมหาวิทยาลัย

การปรับตัวขององค์กรบริการ

องค์กรบริการต้องปรับให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของวิถีการดำรงชีวิต สาเหตุที่เปลี่ยน เพราะไลฟ์สไตล์ (Culture) เปลี่ยน เช่น

                การย้ายถิ่นฐาน     ท้องถิ่น –> กรุงเทพ

                รูปแบบการดำรงชีวิต = คอนโด = น้ำถังใหญ่

                การเปลี่ยนแปลงสัดส่วนของอายุประชากร = เด็กลดลง –> สูงอายุเพิ่มขึ้น

                การติดต่อสื่อสาร = มือถือ

                การใช้จ่าย = เพื่อความบันเทิง กีฬา (เช่น ผู้บริการกอล์ฟ) สินค้าฟุ่มเฟือยสูงขึ้น เครดิตการ์ด ระบบรับจ่ายบิลแบบ one-stop service

E-book Reader

E-book Reader หรือ E-Reader หรือ E-book Device, Amazon Kindle เป็น e-reader ที่มีชื่อเสียง หรือถ้าเป็น tablet ก็จะมี iPad เป็น tablet ที่มีชื่อเสียง สำหรับ e-reader แล้ว ไทยจะล้าหลังไปประมาณ 5 – 10 ปี

ถ้าพูดถึง tablet ก็จะนึกย้อนไปได้ถึงสมัยอัสซีเรีย เราเคยใช้ tablet กันมาก่อน โดยเรียกกันว่า clay tablet เป็นกระดานดินเหนียว ข้างในกลวง ใช้อักษรรูปลิ่มในการบันทึกตัวอักษร ที่ใช้ดินเหนียวมาทำ เนื่องจากแถบลุ่มแม่น้ำไทกรีส-ยูเฟรตีส มีดินโคลนมาก อียิปต์ใช้กกปาริรุส จีนใช้ติ้วไม้ไผ่ ยุโรปใช้หนังสัตว์ เนื่องจากเป็นวัสดุที่หาได้ง่ายในท้องถิ่น

เศรษฐกิจพอเพียง

เศรษฐกิจพอเพียง หมายถึง ประหยัด ใช้เท่าที่จำเป็น เป็นทฤษฎีของคนอิสลาม อยู่ในพระคัมภีร์อัลกุรอ่าน ถ้าศาสนาพุทธก็เทียบได้กับทางสายกลาง E. F. Schumacher นักเศรษฐศาสตร์ชื่อดังของโลก ผู้แต่งหนังสือ Small Is Beautiful ก็ได้กล่าวไว้ในความหมายที่คล้ายกัน

โพสท์ใน 023707 | ติดป้ายกำกับ , , , , | ใส่ความเห็น

Hello world!

Welcome to WordPress.com. After you read this, you should delete and write your own post, with a new title above. Or hit Add New on the left (of the admin dashboard) to start a fresh post.

Here are some suggestions for your first post.

  1. You can find new ideas for what to blog about by reading the Daily Post.
  2. Add PressThis to your browser. It creates a new blog post for you about any interesting  page you read on the web.
  3. Make some changes to this page, and then hit preview on the right. You can alway preview any post or edit you before you share it to the world.
โพสท์ใน Uncategorized | 1 ความเห็น